banner nyc2

banner nyc3

banner nyc4

banner nyc5

banner nyc6
rms 65
std2018
vcop 662
chekin68
1234
face 65
Inovation2
research 63
money 63
bompok 65
grade oonline
kru prom
jobblock curs58
classroom

dve



สถิติการเยี่ยมชม

2231559
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
1435
2955
5978
2212988
35701
57042
2231559

Your IP: 182.52.36.98
2024-10-22 21:18

ข้อมูลสังคม เศรษฐกิจ ของจังหวัดยะลา
yala 65

 yla  1  3234
 20140416210631  images  images 3
map yala

ข้อมูลจังหวัดยะลา

          เทศบาลนครยะลาได้รับการจัดตั้งตามพระราชกฤษฎีกาการจัดตั้งเทศบาลเมืองยะลา จังหวัดยะลา ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 53 หน้า 1223 ตราไว้ ณ วันที่ 11 กุมภาพันธ์  2479 สำนักงาน เทศบาลเดิม ตั้งอยู่ที่ หมู่บ้านสะเตง อันเป็นบริเวณที่ตั้งของตัวจังหวัดยะลาเดิมต่อมาย้ายที่ทำการมาอยู่ ณ โรงเรียนที่เทศบาลได้ปลูกสร้างขึ้นใหม่ใกล้ถนนสุขยางค์ (สโมสรข้าราชการจังหวัดเดิมและถูกรื้อสร้างเป็น อาคารศูนย์เยาวชนเทศบาลในปัจจุบัน) เพื่อความสะดวกต่อการเป็นศูนย์กลางการติดต่อกับประชาชนทั่วไป เนื่องจากตั้งอยู่ใกล้ที่ทำการศาลากลางจังหวัดยะลา  และใกล้ที่ทำการอำเภอเมืองยะลา ซึ่งเป็นบริเวณที่เรียก กันว่า “ตลาดนิบง” มีพื้นที่ตอนแรกเริ่มประมาณ 16 ตารางกิโลเมตร ในปี พ.ศ.2501 คณะผู้บริหารได้กู้เงินจากกองทุนส่งเสริมกิจการเทศบาล เป็นเงิน 1,200,000 บาท เมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2501 จัดสร้างอาคาร สำนักงานเทศบาลถาวรขึ้นเป็นอาคารตึก 2 ชั้น ขนาดใหญ่แบบพิเศษของกรมโยธาเทศบาล เป็นเงิน 1,174,921 บาท สร้างเสร็จ เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2502 ได้ประกอบพิธีเปิดอาคาร เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2502 ทั้งได้ย้ายสำนักงาน จากอาคารเรียน สู่อาคารหลังใหม่ ซึ่งเป็นอาคารหลังหน้าสุดที่ใช้อยู่ในสำนักงานเทศบาลปัจจุบัน ต่อมาในปี พ.ศ. 2509 ได้ขยายเขตเทศบาลเป็น 19.4 ตารางกิโลเมตร ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ ตำบลสะเตงทั้งหมด ได้เปลี่ยนแปลงฐานะจากเทศบาลเมืองยะลา เป็นเทศบาลนครยะลา ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาล นครยะลา จังหวัดยะลา ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 112 ตอนที่ 40 ก. ลงวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2538 ยกฐานะเทศบาลเมืองยะลาเป็นเทศบาลนครยะลา โดยมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2538 เป็นต้นมา

          จังหวัดยะลาที่อยู่ใต้สุดของประเทศไทย มีพื้นที่ประมาณ 4,521 ตารางกิโลเมตรหรือประมาณ 2,858,116 ไร่ มีอาณาเขตติดต่อจังหวัดใกล้เคียง ดังนี้
            ทิศเหนือ  
ติดต่อกับเมืองหนองจิก
            ทิศตะวันออก  ติดต่อกับ
เมืองยะหริ่งตั้งแต่หมู่บ้านโหละเปาะยะหริ่ง มีสายน้ำยาวไปจรดคลองท่าสาป
            ทิศตะวันตก  
ติดต่อกับเมืองไทรบุรีมีคลองด้านบาโงย แขวงเมืองเทพา เป็นเขตขึ้นไปจนถึงบ้านยินง
            ทิศใต้   
ติดต่อกับเขาปะวาหะมะ ไปทางทิศตะวันออกถึงเขาปะฆะหลอสะเตาะเหนือ บ้านจินแหร จนถึงคลองท่าสาปจรดบ้านบันงสตา

           จังหวัดยะลาแบ่งการปกครองออกเป็น 8 อำเภอ คือ อำเภอเมือง อำเภอเบตง อำเภอบันนังสตา อำเภอยะหา อำเภอรามัน อำเภอธารโต อำเภอกาบัง และอำเภอกรงปินัง แข่งเขตการปกครองตามลักษณะพื้นที่ออกเป็น 8 อำเภอ 58 ตำบล 379 หมู่บ้าน เทศบาล 11 แห่ง องค์การบริหารส่วนตำบล 52 แห่งและอื่นๆ จำนวน 2 แห่ง ประชากรนับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 71.74 ศาสนาพุทธ ร้อยละ 28.02 และคริสต์ ร้อยละ 0.24

วิสัยทัศน์ : เกษตร ท่องเที่ยว มั่งคั่งยั่งยืน คุณภำพชีวิตมั่นคง
คำอธิบำยวิสัยทัศน์
           จังหวัดยะลา มีภาพลักษณ์ในการเป็นเมืองที่มีผังเมืองที่มีความสวยงามและเป็นระเบียบมีความสะอาดที่สุดเมืองหนึ่งของประเทศไทย มีสถานที่ท่องเที่ยวที่มีความหลากหลายและสวยงามโดยเฉพาะอำเภอเบตงจนมีคำขวัญว่า  “ใต้สุดสยาม เมืองงามชายแดน” ประชาชนมีการประกอบอาชีพทางด้านการเกษตร โดยการทำสวนยาง และสวนผลไม้ ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม มีประเพณีวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง แต่ก็มีวิถีชิตร่วมกันอย่างสันติสุขในความหลากหลายของพหุวัฒนธรรม แต่จากสถานการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปี
2547 ที่ผ่านมาส่งผลกระทบต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนและภาพลักษณ์ของจังหวัดซึ่งถือเป็นจุดอ่อน และอุปสรรคสำคัญในการพัฒนาจังหวัด
 
            ดังนั้น จังหวัดยะลา จึงได้กำหนดวิสัยทัศน์จังหวัดยะลา คือ “เกษตร ท่องเที่ยว มั่งคั่ง ยั่งยืน คุณภำพชีวิตมั่นคง” หมายถึง การนำยะลามุ่งไปสู่เมืองท่องเที่ยวที่น่าอยู่ประชาชนมีความสุข มีอาชีพ มีรายได้ที่มั่นคงประชาชนได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพ มีอาชีพที่มั่นคง มีสุขภาพดีอยู่
ในสิ่งแวดล้อมที่ดี มีการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง อยู่ร่วมกันด้วยความรักความสามัคคี ภายใต้ความหลากหลายของวัฒนธรรม และอัตลักษณ์ของพื้นที่ และประชาชนมีความเชื่อมั่นศรัทธาในภาครัฐ

พันธกิจ
1. ส่งเสริมให้ประชาชนมีความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินตลอดจนมีความเข้าใจที่ดีต่อภาครัฐ
2. เสริมสร้างการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อให้ประชาชนมีอาชีพและรายได้ที่มั่นคง
3. เสริมสร้างการอำนวยความเป็นธรรมและส่งเสริมคุณธรรมของสังคม ตลอดจนการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนด้านสุขภาพ และสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคม
4. ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มีความเข้มแข็ง
5. ประสาน สนับสนุนและเสริมสร้างความร่วมมือในการบริหารจังหวัด การจัดจังหวัดแบบบูรณาการกับทุกภาคส่วน

เป้าประสงค์รวม  
          เศรษฐกิจขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ประชาชนมีรายได้ที่มั่นคง ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีในเมืองน่าอยู่ สังคมมีความปรองดองสมานฉันท์ ประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินเชื่อมั่นศรัทธาภาครัฐ

ประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด จำนวน 4 ประเด็นยุทธศาสตร์ คือ
1. ส่งเสริมพัฒนาการผลิตและการแปรรูปผลผลิตด้านการเกษตรเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและการส่งออก
2. ส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติและวัฒนธรรม
3. พัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน
4. เสริมสร้างยะลาสันติสุข  

ดูรายละเอียดข้อมูลพื้นฐานจังหวัดยะลา
เว็บไซต์จังหวัดยะลา www.yala.go.th

วิทยาลัยการอาชีพนครยะลา 4/2 ถ.เวฬุวัน ต.สะเตง อ.เมือง จ.ยะลา โทรศัพท์  0-7327-4506  โทรสาร.0-7336-1105

www.nyc.ac.th Copyright © 2022. All Rights Reserved.